fbpx

Internet Banking ล่ม ปัญหาที่เจอกันบ่อยครั้ง

Internet Banking ล่ม ปัญหาที่เจอกันบ่อยครั้ง

“ระบบล่ม “ปัญหาที่มักจะเจอกับการธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile banking และ Internet banking

KTBNEXT_ERROR
KPLUSERROR

สิ้นเดือนมกราคม 2019 ที่ผ่านมา ปัญหาที่เกิดจาก “ระบบล่ม” ระบบไม่สามารถใช้งานได้ เกิดขึ้นให้เห็นตามข่าวอีกครั้ง

โดยอ้างอิงจากในเนื้อข่าวว่า ระบบ Intetrnet Banking ล่มอยู่ก่อนหน้านั้นหลายชั่งโมง หลังจากนั้นมีผู้ใช้บางส่วนพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับ Internet Banking ของ Krungthai NEXT เช่นกัน โดยปัญหาดังกล่าวนั้นหลายคนพูดกันว่าปัญหาเนื่องมาจากช่วงสิ้นเดือนมีผู้ใช้งานจำนวนมาก มีการทำรายการจำนวนมากขึ้นเช่นกันทำให้ระบบไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานและการทำรายการจำนวนมากได้

หากจำกันได้ เราเคยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้งาน Internet Banking ในปัจจุบันว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี แต่ระบบนั้นยังไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปีได้ ตามอ่านข้อมูลผู้ใช้งาน Internet Banking ในปัจจุบันได้ที่นี่ (วิเคราะห์จำนวนผู้ใช้งาน Internet Banking 2018) ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่จะเกิดขึ้นกับ Internet Banking แต่เพียงอย่างเดียว ทีมงานของเราได้รับทราบปัญหาจากลูกค้าของเราหลายๆที่ เกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้วานที่เพิ่มมากขึ้น แต่ระบบไม่สามารถรองรับได้ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่นั้น มักเกิดขึ้นหลังจากระบบได้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้ว ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ใช้งานมากเช่นกัน ทำให้จำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อนที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง

วิธีการทำงานของเราเราก็จะเข้าไปช่วยให้คำปรึกษาการทดสอบการใช้งาน ประมาณคาดการณ์จำนวนผู้ใช้งานและจำนวนการทำรายการสูงสุดที่เกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากข้อมูลของปีก่อนๆที่ได้เคยบันทึกไว้ หลังจากนั้นเราจะมาพูดคุยถึงแนวทางวิธีการทดสอบระบบ ออกแบบการทดสอบระบบรวมไปถึงวิธีการ Monitor ความเคลื่อนไหวของ Application แบบ Realtime เนื่องมาจากประสบการณ์ของทีมงานของเราเราพบว่าปัญหาที่ระบบล่มหรือระบบช้าส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นที่ Application มากกว่า Hardware แต่ว่าส่วนใหญ่นั้นมักจะมองว่าที่ระบบช้านั้นเป็นเพราะว่า Hardware นั้นไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ

ปัญหาที่เราพบส่วนใหญ่ที่ทำให้ระบบช้า มักจะเกิดจากวิธีการเขียน Application เช่นการเขียนเรียก View ข้อมูล การอัพเดทข้อมูล ต่างๆกับ Database ทำให้มีการโหลดข้อมูลและ Insert ข้อมูลจำนวนๆมากๆในครั้งเดียวทำให้เกิดปัญหาคอขวดขึ้นและทำให้ระบบทำงานหนักจนตายในที่สุด

ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาที่เราสามารถพบเห็นได้ยกตัวอย่างเช่น ระบบการจองตั๋วของทาง Thaiticketmajor ซึ่งแต่ก่อนที่จะเป็นระบบในปัจจุบันนั้น ระบบเดิมคือสามารถกดจองตั๋วได้เลยหลังจากที่ได้ทำการเปิดการขาย ทำให้การแสดงดังๆที่มีผู้คนเฝ้ารออยุ่เป็นจำนวนมากนั้น แต่ละคนก็จะเปิดหลายๆหน้าจอแล้วกดพร้อมกันได้คราวเดียว ทำให้เกิดปัญหาคอขวด ในส่วนของการอัพเดทข้อมูลทำให้ระบบล่มในที่สุด แต่ในปัจจุบันได้แก้ไขปัญหาโดยเพิ่มระบบ Queue ขึ้นมาทำให้ปัยหาระบบล่มนั้นน้อยลงไป

นี่ล่ะครับยกตัวอย่างให้เห็นถึงความสำคัญในการที่จะต้องมีการทำ Performance Testing ก่อนที่จะนำระบบขึ้นไปใช้งานก่อนทุกครั้งเพื่อที่จะได้มีข้อมูลในการปรับปรุงระบบเพิ่มในอนาคต เพราะหากเกิดปัญหา “ระบบล่ม” แล้ว ไม่สามารถเปรียบเทียบเป็นตัวเงินได้เลยกับความรู้สึกที่เสียไปจากการที่เข้าใช้งานระบบไม่ได้

สนใจทำ Performance Testing and Monitoring ติดต่อผ่านหน้า Website, Facebook หรือ Email มาได้ตลอดเวลาเช่นเดิมครับ ยินดีมากที่จะให้คำปรึกษาในการออกแบบการทดสอบระบบ

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Tag

2019-02-04T13:35:58+07:00

ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ

สามารถติดตามข่าวสาร Vtune อัพเดทตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

RECENT TWEETS

CONTACT US

  • เลขที่ 140/30 ซอยรัชดาภิเษก 29 (รัชประชา 4) ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
  • 092-789-4979
  • sales@vtune.co.th