RPA คืออะไร ? RPA เป็นเทรนหรือเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปี 2019 นี้ แต่เป็นที่พูดถึุงกันมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว เนื่องด้วย RPA นั้นสามารถช่วยลดงานซ้ำๆ งานเอกสารต่างๆ งานด้านบัญชี งานด้านการเงิน งานด้านการสนับสนุนการขายเป็นต้น รวมไปถึงสามารถเป็นผู้ช่วยให้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจแก่ผู้บริหารอีกด้วย
จากบทความก่อนๆที่เราเคยพูดถึง RPA กันไปบ้างแล้วนะครับแต่บางท่านอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่า RPA คืออะไร แล้วจะเข้ามาช่วยงานในบริษัทเราได้อย่างไร ผมจึงขอยกตัวอย่างงานบางชนิดที่เราสามารถนำ RPA เข้าไปช่วยงาน
ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนว่าเจ้า RPA เราเรียกง่ายๆว่าคือ โรบอท หรือ หุ่นยนต์นั่นเองครับ จะเข้ามาทำหน้าที่คล้ายๆเลขาหรือผู้ช่วยของมนุษย์ๆเราๆนั่นเอง สิ่งที่ โรบอททำงานคือ โรบอทจะทำงานตามคำสั่ง ตามรูปแบบ ที่ได้ถูกออกแบบจากมุษย์ให้ทำงานตามนั้นเป้ะๆ ไม่สามารถคิดเองทำเองได้ ซึ่งส่วนนี้ต่างจาก AI ที่สามารถคิดและประมวลผลและตอบสนองการตัดสินใจได้ กลับมาในเรื่องของ โรบอท ตัวโรบอทเองจะทำงานตามที่ได้ออกแบบเท่านั้น เช่น ชี้ให้ไปซ้ายก็จะไปซ้ายเท่านั้น ถ้าโรบอทไม่เจอทางซ้าย เราต้องบอกเค้าต่อว่าให้ทำอะไร เพราะถ้าเราไม่บอกว่าให้เค้าทำอะไร เค้าจะหยุดนิ่งไม่ทำงานต่อทันที เพราะฉะนั้นในเวลาการออกแบบ โรบอทเพื่อช่วยงานแล้ว เราจะต้องมานั่งคุยถึงทุกเหตุการณ์ที่อาจะะเกิดขึ้นได้ หรือที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น Error ต่างๆที่ได้เกิดขึ้น หากพบ Error เรามีการจัดการอย่างไร ทำอย่างไร นำมาเก็บรวมรวบเป็นข้อมูลในการสร้างเส้นทางให้โรบอททำงาน
ตัวอย่างแรกที่จะทำให้เห็นภาพ ผมเขียนเป็ยรายละเอียดสั้นๆสำหรับ Task ดังนี้
- User Login เข้าสู่ระบบ Email > ค้นหาอีเมลล์จากลูกค้าที่เปิดรายการเข้ามาเพื่อขอการ Support > เปิดเข้าไปอ่านอีเมลล์นั้นๆ > นำข้อมูลเช่น ชื่อลูกค้า, เบอร์โทรศัพท์ นำไปใส่ใน Excel ในคอลัมที่ 1 หลังจากนั้น ค้นหาอีเมลล์อื่นๆที่ลูกค้าทำการขอซัพพอต์ หลังจากนั้นทำแบบเดิมคือนำข้อมูลไปกรอกลงใน Excel > หลังจากครบ 50 รายการซัพพอร์ต จะทำการเซฟ Excel แล้วส่งอีเมลล์ไปให้ทีมซัพพอร์ตเพื่อตรวจสอบต่อไป ( จบการะบวนการที่ 1)
- User ทีมซัพพอร์ตทำการตรวจสอบข้อมูลจากข้อ 1 ตรวจสอบและแก้ไข เรียบร้อย หลังจากนั้นจะไปเปิดไฟล์ที่ขั้นตอนที่ 1 ส่งมาแล้วลง Mark หลังรายการนั้นว่า Done ทำจนครบทั้ง 5o รายการแล้วทำการเซฟไฟล์แล้วส่ง Report ไฟล์ที่เสร็จแล้วไปยัง TeamLead เพื่อ Log การทำงาน
จะเห็นได้ว่าจากข้อที่ 1 โรบอทสามารถเข้าไปทำงานแทนได้ทันทีเนื่องจากงานดังกล่าวเป็นงานที่ซ้ำๆ เพียงแค่เราบอก โรบอทว่าให้ทำอะไรเวลาเจอหัวข้ออีเมลล์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น เจอหัวข้อว่า ขอ Support ให้เข้าไปอ่านอีเมลล์นั้นๆแล้วทำงานต่อ หากไม่เจอหัวข้อว่า Support ให้ Move Email นั้นไปที่โฟลเดอร์อื่นสำหรับทีมอื่นเป็นต้น แล้วทำตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ในข้อ 1 หลังจากข้อ 1 สำเสร็จสามารถให้โรบอททำงานต่อได้ทันทีในการ Log ข้อมูลการตรวจสอบรายการที่ทำเรียบร้อยแล้ว แล้วส่งอีเมลลืไปยัง TeamLead
“จุดเด่นที่โรบอทช่วยงานได้มากคือ เราสอนโรบททำงานแค่ครั้งเดียว โรบอทจะทำงานแบบเดิมไปตลอดลดข้อผิดพลาดต่างๆ เนื่องมาจาก หากเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้ว หากพนักงานดังกล่าวที่ทำงานนั้นเกิดลาออกขึ้นมา ก็จะทำให้งานนั้นๆชะงักทันที ต้องกาคนมาทำงานแทนซึ่งหมายถึงการที่ต้องสอนงานใหม่ทั้งหมด อีกทั้ง โรบอทเพียงตัวเดียวสามารถทำหลากหลายงานขึ้นอยู่กับเราจะสอนให้โรบอททำอีกด้วย ทั้งงานฝ่ายบัญชี งานเลขา เป็นต้น”
พอจะนึกภาพอแอกแล้วใช่ไหมครับว่า RPA คืออะไร และนี่ล่ะครับที่ในอนาคตอันใกล้นี้ โรบอทจะเข้ามาอยู่ช่วยในตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก เราจึงควรจะต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโรบอทมาช่วยงานด้วยเช่นกัน ซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญหลากหลาย Software RPA ไม่ว่าสจะเป็น BluePrism, UIPath, KOFAX Kapow เป็นต้น
สนใจทำ RPA (Robotic Process Automation) ติดต่อผ่านหน้า Website, Facebook หรือ Email มาได้ตลอดเวลาเช่นเดิมครับ ยินดีมากที่จะให้คำปรึกษาในการออกแบบการพัฒนาในทุกขั้นตอนพร้อมให้คำแนะนำ Software ที่ใช้ในการพัฒนาด้วยเช่นกัน