วันนี้เราจะมา เปรียบเทียบ RPA ถึงความแตกต่าง ความยากง่าย ของ RPA Software ของแต่ละค่ายมาให้อ่านกันครับ (จากประสบการณ์การใช้งาน)
หลังจากห่างหายจากการอัพเดทความเคลื่อนไหวในเทคโนโลยี RPA (Robotic Process Automation) มาสักพัก ที่หายไปเนื่องมาจาก มีลูกค้าที่สนใจ RPA เป็นจำนวนมาก ทำให้ช่วงนี้ทางเราเลยไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดทความเคลื่อนไหวให้ทราบกันเลยครับ บทความนี้ เกิดขึ้นมาจาก ที่เราเคยบอกกันก่อนหน้านี้แล้วว่า ในปีนี้ RPA นั้นจะเป็นเทคโนโลยี ที่จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในประเทศไทย เนื่องด้วยกระแสแรงงานดิจิทัล “Digital Workforce” และความต้องการที่จะเปลี่ยนลักษณะงานให้ไปอยู่ในรูปแบบอัตโนมัติเพื่อลดแรงงานที่จะใช้ในงานประเภทที่เป็น Day-to-Day Task ให้ลดน้อยลง นำเทคโนโลยีมาช่วยแทน
เกริ่นมาซะยาว เราเลยอยากจะเข้ามาแนะนำ Software RPA ที่บ้านเราใช้งานนั้นว่ามีจากค่ายไหน บริษัทไหนกันบ้าง ข้อดีของแต่ละตัวเป็นอยบ่างไร (อันนี้อ้างอิงจากการที่ได้คุยกับ End User และจากหลากหลายบริษัทที่ Implement RPA) โดยที่เท่าที่เราเห็นในตลาดนั้น หลักๆได้แก่ BluePrism, Kofax RPA, UIPath, Automation Anywhere, BizRobo, Nice, Pega เป็นต้น แค่จริงๆแล้ว Software RPA ในปัจจุบันนั้นมีมากกว่า 50 ค่ายกันเลยทีเดียวครับ ที่ยกตัวอย่างมานั้น เราคัดมาจาก การที่เราได้คุยกับลูกค้าและทางบริษัทที่ Implement RPA เอง ซึ่งที่ได้รับความนิยมจะมีดังตัวอย่างด้านบนครับ
เราจะมาแนะนำทีละตัวทีละค่ายกันเลยครับ
- BluePrism
Blue Prism เป็น บริษัท ซอฟต์แวร์ที่กำเนิดในสหราชอาณาจักรและเป็นผู้นำในประเภทเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งก็คือเจ้า Robotic Process Automation หรือ RPA นั่นเองครับ โดยที่หลักๆแล้ว เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ (RPA) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติและดำเนินงานในลักษณะเดียวกันกับมนุษย์ โดยการเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นก็จะทำตามรูปแบบ เส้นทางหรือโครงสร้างที่ได้ถูกกำหนดไว้ ซอฟต์แวร์ RPA ของ Blue Prism นั้นมีความแตกต่างจากค่ายอื่นๆในตลาดเนื่องจากได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งต้องการระบบที่มีความปลอดภัยความรวมไปถึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานซอฟต์แวร์ RPA ของ Blue Prism นั้นเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในปัจจุบันจากกระแส Digital Workforce นั่นก็คือการใช้แรงงานดิจิทัลที่ดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากฟังก์ชั่นไอที ทำให้ซอฟต์แวร์นั้นสามารถตอบสนองความต้องการการในการใช้งานระบบอัตโนมัติ เนื่องมาจากในปัจจุบันบางส่วนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยฟังก์ชั่นไอทีเนื่องจากความ จำกัด ทางเศรษฐกิจและทรัพยากรบุคคลที่จำกัดกลุ่มบริษัท BluePrismให้ความสำคัญกับการสร้างระบบพันธมิตรช่องทางทั่วโลกมากขึ้นซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วย Accenture, Deloitte, Cap Gemini, IBM, id. Management, NEOOPS and Thoughtonomy.Blue Prism มีพนักงานมากกว่า 100 คนและพนักงานหุ่นยนต์ดิจิทัลมากกว่า 100 ตัว มีสำนักงานอยู่ใน Newton-le-Willows and London (UK), Miami, Chicago, New York, Austin and San Francisco (US) and Sydney (AUS)
ลักษณะและจุดเด่นของ BluePrism ได้แก่
1. ความสามารถในการ Scale Out ระบบในอนาคตหลังจากที่ได้พัฒนาระบบอัตโนมัติ สามารถทำได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มจำนวนโรบอทเพื่อช่วยให้กระบวนการทำงานเสร็จเร็วขึ้น พูดง่ายๆคือหากในอนาคตนั้นงานมีจำนวนมากขึ้นหรือ Transaction มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ Robot ตัวเดียวไม่สามารถที่จะทำงานทัน เราสามารถซื้อ Robot เพิ่มเติมเพื่อใช้งานใน Workflow ตัวเดิมได้ทันที
2. สามารถใช้วานได้กับซอฟต์แวร์หรือ 3rd party software ได้แทบทุกประเภทโดยการทำงานผ่านทาง Object Studioส่วนประกอบของของ BluePrism
BluePrism จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆคือProcess Studio: ใช้สำหรับการออกแบบการทำงานหรือที่เราเรียกว่า Workflow โดยที่าเราสามารถออกแบบ Workflow ให้จบกระบวนการภายในหน้าเดียว หรือ เราสามารถสร้าง Workflow หลายๆหน้าที่ทำงานต่อเนื่องกันได้เช่นกัน
Object Studio: ใช้สำหรับการบันทึกการทำงานของ Application ที่ต่างๆกัน เพื่อที่จะทำให้เราสามารถใช้งาน Application นั้นๆผ่านทาง Process Studio ได้ ข้อดีของการมี Object Studio นั้นคือทำให้เราสามารถที่จะใช้งาน Application มากมายในโลกนี้ได้โดยกหารทำให้ Robbot นั้นทำการเรียนรู้ Application นั้นทำงาทนอย่างไรมีฟังก์ชั่นในการทำงานอย่างไรบ้าง
เราจะมาแนะนำทีละตัวทีละค่ายกันเลยครับ
- Kofax RPA
Kofax เป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบกระบวนการอัตโนมัติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศอยู่ใน Irvine, California Kofax ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 ให้บริการการจัดการกระบวนการการทำงานอัตโนมัติของกระบวนการหุ่นยนต์ e-Signature ให้บริการลูกค้าถึง 25,000 รายใน 70 ประเทศ อเมริกา และเอเชียแปซิฟิกโดยที่สินค้าและการให้บริการของ Kofax นั้นแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆได้แก่Kofax RPA: ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ใช้หุ่นต์ยนต์มาช่วยทำงานรวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลบนเว็บ
Kofax Insight: ซอฟต์แวร์การรายงานผลแบบเรียลไทม์ แดชบอร์ดการสร้างภาพสำหรับการนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ต่างๆ
Kofax TotalAgility:กระบวนการตรวจจับเอกสารหรือข้อมูลนำเข้าจากหลายช่องทาง เพื่อใช้รวมข้อมูล การวิเคราะห์และความคล่องตัวในแพลตฟอร์มเดียว
Kofax ReadSoft Online: โซลูชันการประมวลผลใบแจ้งหนี้อัตโนมัติบนคลาวด์
Kofax Capture: สแกนเอกสารและแบบฟอร์มเพื่อคัดลอกข้อมูลดิจิตอลเพื่อแยกประเภทเอกสารต่างๆ
Kofax SignDoc: โซลูชัน E-Signature ที่สามารถทำงานร่วมกับ Kofax FraudOne เพื่อจับภาพลายเซ็นในการเปิดบัญชีใหม่และส่งต่อไปยังฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบต่อไปKofax RPA หรือชื่อเก่าคือ Kofax Kapow นั้นข้อดีของเค้าที่เราสัมผัสได้คือ UI Low-Coding สามารถสร้าง Workflow ง่ายๆได้ด้วยตัวเอง สามารถ Drag and Drop แล้ว Config ใช้งานได้ทันที เนื่องจากวิธีการสร้าง Workflow นั้นใช้วิะีการ Record เป็นทีละขั้นตอน Step-by-Step ไป Business User สามารถเรียนรู้การสร้าง Workflow ใช้วงานได้เอง
โดยที่ Kofax RPA นั้นประกอบด้วยสี่ส่วนหลักๆคือ
1. Management Console : เป็น Web UI ใช้งานการดูการทำงานของ Robot การตั้งการทำงานอัตโนมัติ การดูการทำงานและ Workload ของ Server รวมไปถึงการกำหนดสิทธิ์การใช้งานต่างๆของตัวระบบ
2. RoboServer : ทำหน้าที่คล้ายๆสมองของคนเรา ใช้ในการสั่งการทำงาน Robot ต่างๆ โดยรับคำสั่งจาก Management Console
3. Design Studio : เป็นตัวที่เราไว้ใช้ในการออกแบบ Workflow การทำงาน
4. Device Automation : ในกรณีที่เราต้องการทำงานกับ 3rd software เราสามารถลง Agent บน Device แล้วใช้ตัว Design Studio Connect เพื่อ Record การทำงานได้ทันที
วันนี้แนะนำสองค่ายก่อนนะครับ บทความถัดไปจะทยอยอัพเดท Software RPA ตัวอื่นๆเพิ่มเติม